หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โลจิสติกส์)

Doctor of Philosophy (Logistics)

จุดเด่นของหลักสูตร

1. เรียนรู้กับกรณีศึกษาที่เป็น Best Practice
2. สร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เป็นตัวขับเคลื่อน (Logistics Innovation
Driven Entrepreneur)

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิต บัณฑิตให้มีความรอบรู้ และเชี่ยวชาญในสาขาวิชาโลจิสติกส์ มีความพร้อมที่จะเป็นผู้บริหารที่มีความรู้ สามารถ วิเคราะห์และแก้ปัญหา ออกแบบและวางแผนระบบการจัดการโลจิสติกส์ส าหรับองค์กรได้ ตลอดจนสามารถ ควบคุมและวางแผนการด าเนินงานขององค์กรให้สามารถบรรลุประสิทธิภาพสูงสุดในการด าเนินงานและสร้าง ศักยภาพในการแข่งขันด้วยนวัตกรรมด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย เป็นตัวขับเคลื่อน (Logistics Innovation Driven Entrepreneur) โดยมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความสามารถศึกษาค้นคว้าและวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ ใหม่ทางด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมของประเทศและภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเป็นการ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและงานวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ชั้นสูงของประเทศไทยให้สามารถ แข่งขันกับอารยประเทศได้ โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาโลจิสติกส์ (LRDI-UTCC) ที่เป็นแหล่งสนับสนุนข้อมูล ผลการศึกษาวิจัยเชิงลึกจากการปฎิบัติจริงของผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ชั้นน าของประเทศ ซึ่งมีผลงานทาง วิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ที่เป็นที่ยอมรับทั้งระดับชาติและนานาชาติ

 

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ

Doctor of PhilosophyProgram in Logistics

ชื่อปริญญาภาษาไทย

ชื่อเต็ม (ไทย) : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โลจิสติกส์)
ชื่อย่อ (ไทย) : ปร.ด. (โลจิสติกส์)

ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษ

ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Doctor of Philosophy (Logistics)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : Ph.D. (Logistics)

สิทธิพิเศษ

(เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัย)

คุณสมบัติผู้สมัคร

2.2.1) แผนที่ 1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาโลจิสติกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
จากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจาก ก.พ. หรือสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการรับรอง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
หรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
2.2.2) แผนที่ 2 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาโลจิสติกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
จากมหาวิทยาลัยในประเทศหรือต่างประเทศที่ได้รับการรับรองจาก ก.พ. หรือสำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการรับรอง โดยได้คะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานในสาขาวิชาไม่น้อยกว่า 3
ปีหลังสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
ผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาเอกต้องยื่นผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
หรือตามเกณฑ์มาตรฐานอื่นใดที่ได้รับการยอมรับและสามารถเทียบเคียงกันได้ ดังนี้
TOEFL(paper) 500
TOEFL(CBT) 173
TOEFL(IBT) 61
TOEIC 600
IELTS 5.0
CU TEP 60
UTCC BEST 485
UTCC Advanced BEST 60
ในกรณีผู้จะเข้าศึกษาระดับปริญญาเอกมีผลการสอบภาษาอังกฤษไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
หลักสูตรอาจพิจารณารับเข้าศึกษาโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
ภายใต้เงื่อนไขที่จะต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งข้างต้น ยื่นต่อบัณฑิตวิทยาลัย
ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 ปีการศึกษาแรก
ผู้สมัครทั้ง 2
แผนการศึกษาต้องสอบผ่านการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรจากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ข้างต้น
อาจได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าศึกษาตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา

วัน/เวลาเรียน

ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า
15 สัปดาห์
มีภาคฤดูร้อน จำนวน 1 ภาค ๆ ละ 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่ดุลยพินิจของคณะกรรมการหลักสูตร
ภาคต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
ภาคปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี 200,000 บาท

ระยะเวลาที่เรียน

เรียน Course Work 3 ปี

ผู้อำนวยการหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรินทร์ วงษ์มณี