ปริญญาโท

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (aMBA)

Master of Business Administration Program (aMBA)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) สำหรับนักวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุน ในชื่อว่า “aMBA (Analyst MBA)” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพที่มีความรู้และความสามารถเป็น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้จัดการกองทุน หรือนักบริหารการเงินให้กับภาคธุรกิจ โดยผู้เรียนจะได้รับโอกาสในการเข้าสู่สายงานวิชาชีพวิเคราะห์หลักทรัพย์และการลงทุน ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้จากนักวิเคราะห์ชั้นนำของประเทศ พร้อมกับโอกาสในการฝึกงานกับบริษัทวิเคราะห์หลักทรัพย์ชั้นนำของประเทศ และสามารถเข้าถึงสื่อการเรียนจาก SET e-learning พร้อมกับทบทวนเพื่อสอบ AISA (Accredited Investment and Securities Analyst) และทุนทดสอบหลักสูตร Certified Investment and Securities Analyst (CISA) ระดับ Foundation เพื่อให้ได้คุณวุฒิ Accredited Investment and Securities Analyst (AISA)

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาควันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาการจัดการ

หลักสูตรมีรูปแบบของการเรียนการสอนเชิงวิเคราะห์ทฤษฎี มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้มีการลงมือปฏิบัติ รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านกรณีศึกษาต่างๆ ด้วยเนื้อหาของบทเรียนที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ หลักสูตรยังมุ่งเน้นการให้นักศึกษาได้เรียนรู้นอกห้องเรียนจากประสบการณ์ตรง ผ่านการศึกษาดูงานเพื่อเปิดมุมมอง วิสัยทัศน์ ความคิด ในการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารในองค์กร รวมถึงการพัฒนาการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอนาคต

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาการตลาดเพื่ออนาคต

ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และพัฒนาแนวคิดในการจัดการธุรกิจในรูปแบบใหม่ซึ่งจะเป็นการบริหารเชิงกลยุทธ์และการบริหารองค์กรแบบองค์รวม รวมทั้งมีความเข้าใจในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเปลี่ยนแปลงและวิเคราะห์ผลกระทบสภาวะแวดล้อมทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค การแบ่งส่วนตลาด การวิเคราะห์และพยากรณ์ความต้องการของตลาด การกำหนดนโยบาย การวางแผนกลยุทธ์ การจัดการส่วนประสมทางการตลาด การจัดองค์การ การควบคุมและการประเมินผล รวมทั้งการวิเคราะห์และแก้ปัญหาทางการตลาด

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาการจัดการโลจิสติกส์

ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากวิชาที่หลากหลายทั้งทางด้านการบริหารธุรกิจ และการบริหารงานวิศวกรรม ซึ่งครอบคลุมการแก้ปัญหาทุกจุดขององค์กร สามารถนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริหารและวางแผน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้า ตลอดอายุวงจรของสินค้า ตั้งแต่การออกแบบการจัดซื้อวัตถุดิบ การผลิต การเงิน การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าและการตลาด ซึ่งหลักสูตรนี้ดำเนินการสอนโดยอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการบริหารการผลิตและการขนส่งของประเทศ

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาการเงินธุรกิจ

ผู้บริหารจำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์และสามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทุกๆ สภาพแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ ดังนั้นผู้บริหารที่ดีจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่งานการเงินทุกๆ ด้านเพื่อประกอบการตัดสินใจ ทั้งนี้สาขาการเงินธุรกิจ จะช่วยให้ผู้บริหารและผู้ที่กำลังจะเป็นผู้บริหารในอนาคตอันใกล้ มีความรู้ทางการเงินที่มีความทันสมัย สามารถนำความรู้ทางวิชาการไปประยุกต์กับการทำงานของตนตามสถานการณ์ ได้ตามความเหมาะสม และสามารถนำพาองค์กรของตนประสบความสำเร็จทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจตลอดไป

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาการประกอบการ

เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยได้เรียนกับผู้ประกอบการตัวจริง เน้นการเรียนแบบเชิงปฏิบัติการ มีการเวิร์คช็อปทำธุรกิจ มีคณาจารย์ดูแลอย่างใกล้ชิด รวมทั้งมีการศึกษาดูงานในสถานประกอบการชั้นนำ เพื่อพัฒนาระบบความคิด เมุมมองด้านธุรกิจและทักษะการจัดการทางด้านธุรกิจ เพื่อการสร้างทีมที่จะนำธุรกิจไปสู่ธุรกิจที่ทันสมัย

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชานวัตกรรมธุรกิจ

เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรม และมุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ทั้งในด้านเทคโนโลยีและด้านบริหารธุรกิจควบคู่กัน เพื่อให้สามารถก้าวไปเป็นผู้ประกอบการและผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เข้ากับการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบและพัฒนาระบบการบริหารจัดการ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี ในต้นทุนที่เหมาะสม และส่งถึงมือผู้บริโภคได้ทันตามกำหนด ผู้เรียนจะมีความพร้อมต่อการเป็นผู้ประกอบการหรือผู้บริหารที่มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหาด้านการออกแบบสินค้าและบริการ รวมถึง การบริหารธุรกิจโดยมีนวัตกรรม เน้นความเข้าใจในการนำเอาความรู้ในด้าน วิทยาการ การตลาดและเทคโนโลยีที่หลากหลาย มาประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้อย่างแท้จริง

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (CEO MBA)

กลุ่มวิชาผู้ประกอบการยุคดิจิทัล

กลุ่มวิชาผู้ประกอบการยุคดิจิทัลมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพ ผู้บริหาร ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ ผู้ประกอบการ ให้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลด้วยความมั่นใจ จัดการเรียนการสอนโดยผสานองค์ความรู้ด้านการจัดการและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้สามารถรองรับกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด และเน้นองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ก้าวเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลหรือเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กร สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันและสร้างคุณค่าเพิ่มเพื่อการขับเคลื่อนทุกมิติของเป้าหมายทางธุรกิจ

(จัดการเรียนการสอน ภาคปกติ ภาคค่ำ ภาคเสาร์-วันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต iMBA (Innovative MBA)

Innovative Essential Management MBA (IE MBA)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (IE MBA) มีรูปแบบของการเรียนการสอนเชิงนวัตกรรม เน้นให้ผู้เรียนสามารถนำแนวคิด ทฤษฎีต่างๆไปประยุกต์ปฏิบัติได้จริง ซึ่งการออกแบบกระบวนการเรียนนั้นได้มุ่งเน้นการเรียนรู้ทฤษฎีในห้องเรียน การเรียนรู้เชิงประยุกต์นอกห้องเรียน จึงสามารถนำไปประยุกต์แนวทางการทำงาน การสร้างนวัตกรรมทางด้านความคิด การบริหารงาน และการกำหนดกลยุทธ์ให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกับผู้ที่มีความสนใจเป็นผู้ประกอบการ หรือผู้ประกอบการในปัจจุบันซึ่งต้องการมีแนวทางในการบริหารแบบใหม่ๆ และประสงค์จะพัฒนาการจัดการองค์กรให้มีความทันสมัย

(จัดการเรียนการสอนเฉพาะวันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต iMBA (Innovative MBA)

Innovative Marketing MBA (IM MBA)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (IM MBA) ได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างมหาบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านการตลาดในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการแข่งขั้นของโลกธุรกิจทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน หลักสูตรได้ออกแบบเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทฤษฎีและแนวคิดทางด้านการตลาดสมัยใหม่ การตลาดดิจิตอล รวมถึงนวัตกรรมใหม่ทางด้านการตลาดที่สอดคลองกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียน การเรียนรู้เชิงประยุกต์นอกห้องเรียน และการแชร์ประสบการณ์จากนักการตลาดมืออาชีพ เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนธุรกิจและองค์กรได้อย่างประสบความสำเร็จ

(จัดการเรียนการสอนเฉพาะวันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต eMBA (Experiencial MBA)

Entrepreneurial Marketing MBA (EM MBA)

หลักสูตรมุ่งเน้นการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะ และประยุกต์ความรู้เกี่ยวกับความเป็นนักการตลาดเชิงประกอบการ
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs และผู้ที่ต้องการเปิดธุรกิจใหม่เป็นของตนเอง (Startup)
โดยเรียนรู้ผ่านรูปแบบของ workshop เพื่อทำการแก้ปัญหาทางการตลาดของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs หรือธุรกิจรายใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(จัดการเรียนการสอนเฉพาะวันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต eMBA (Experiencial MBA)

Management for Executives MBA (ME MBA)

หลักสูตรมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำในยุคโลกดิจิทัล (Digital Leadership) เรียนรู้แนวคิดที่ฉีกตำราบริหารธุรกิจอย่างสิ้นเชิง (Disruption) ด้วยกรณีศึกษาและนักธุรกิจชั้นนำของประเทศ แนวทางการพัฒนาโมเดลธุรกิจนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์ (Innovative and Creative Business Model) เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดโลกที่ไร้พรมแดน และตลาดเกิดใหม่ (Globalization and Emerging Markets) เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน

(จัดการเรียนการสอนเฉพาะวันอาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และแผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์

Master of Management Program in Tourism, Hospitality and Event
Management

หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้และทักษะในการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพในการทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักสูตรนี้จะประกอบด้วยหลายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ เช่น การตลาดดิจิทัลสาหรับธุรกิจการท่องเที่ยว
การบริการ และอีเว้นท์ การจัดการทางการเงินและการบัญชีสาหรับธุรกิจการท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ การเป็นผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรมสาหรับ
การท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์ และอีกหลายๆวิชาที่จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร การแก้ไขปัญหา การทำงานเป็นทีม การวิเคราะห์ข้อมูล และการเตรียมการและการวางแผน เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการทำงานในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(จัดการเรียนการสอน เฉพาะวันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

Master of Economics Program in Business Economics (MBE)

หลักสูตรมุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำบนพื้นฐานเศรษฐกิจนวัตกรรม(Innovative Economy) และเศรษฐกิจแบ่งปัน (Sharing Economy) ด้วยการเรียนรู้แนวคิดเชิงประยุกต์ที่เหมาะสมกับผู้เรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอนาคตภายใต้เศรษฐกิจยุค New Normal ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบ Mentoring, Buddying & Coaching

(จัดการเรียนการสอนแบบรายวิชา (Block Courses) เรียนเฉพาะวันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก. ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข. การศึกษาค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

Master of Accountancy Program

หลักสูตรได้มีการพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีการรวมกลุ่มเศรษฐกิจระดับประชาคมอาเซียนและระดับสากล โดยเน้นการพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ด้านการบัญชี การตรวจสอบ และการภาษีอากร สามารถบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม รวมทั้งสร้างบัณฑิตให้มีคุณสมบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ของมหาบัณฑิต ในด้านคุณธรรม จริยธรรม รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้นักศึกษาในหลักสูตรฯ มีโอกาสร่วมกิจกรรมพิเศษที่จัดสำหรับนักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทัศนคติจากคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และผู้มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจ เพื่อสร้างเครือข่ายด้านธุรกิจ ปูทางสู่ความสำเร็จต่อไปในอนาคต

(จัดการเรียนการสอน ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน

Master of Engineering Program in Computer Engineering and Financial Technology

เป็นหลักสูตรแรกที่ประยุกต์ศาสตร์ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบโจทย์เทคโนโลยีการเงิน –Financial Technology : FINTECH เช่น FinTech Startup Project Design and Management, FinTech Startup Business Modelling and Analysis, FinTech: Technology Innovation in Financial Services, Block Chain Technology, Cloud computing, Information Security in Financial Technology และ เทคโนโลยีการเงินผ่านคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับผู้ที่เรียนจบหลักสูตรนี้ สามารถประกอบธุรกิจที่เรียกว่า START UP ภายใต้องค์ความรู้ด้านต่างๆ ที่ทางหลักสูตรได้สรรสร้างเพื่อผู้เรียนอย่างแท้จริง โดยเรียนจากผู้มีประสบการณ์โดยตรงด้านเทคโนโลยีการเงิน – FINTECH เช่น ผู้ชำนาญการจากธนาคารต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเงิน เป็นต้น

(จัดการเรียนการสอน ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน

Master of Science Program in Financial Engineering

หลักสูตรเปิดดำเนินการเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งแต่ ปี 2552 โดยเน้นการใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และสถิติ ตลอดจนการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่นำมาประยุกต์ในการวิเคราะห์ปัญหาทางการเงิน ผู้เรียนจะได้ศึกษาทฤษฎีทางการเงิน การลงทุน ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในรูปแบบต่างๆ การบริหารความเสี่ยง รูปแบบจำลองทางการเงิน เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา และมีรายวิชาที่สอดคล้องกับ Financial Risk Manager (FRM) หลักสูตรมีที่ปรึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพทางการเงิน อาทิ ธุรกิจธนาคาร และธุรกิจประกันภัย รวมถึงมีความร่วมมือทางด้านวิชาการกับภาคธุรกิจหลักทรัพย์ เช่น สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ฯลฯ

(จัดการเรียนการสอน นอกเวลาทำการ จำนวน 42 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด

Master of Communication Arts Program Marketing Communication

หลักสูตรนี้เปิดกว้างสำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากหลากหลายสาขาวิชา ซึ่งต้องการพัฒนาความรู้และทักษะเชิงบูรณาการในด้านการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ ดำเนินการสอนโดยอาจารย์ประจำผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งผู้บริหารวิชาชีพที่มีชื่อเสียงและความชำนาญจากวงการการสื่อสารเชิงธุรกิจ เพื่อผู้เรียนได้รับความรู้ทั้งในเชิงทฤษฎีและทักษะการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ที่ผสมผสานนิเทศศาสตร์และการตลาดเข้าด้วยกัน ตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสารเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับองค์กรในเชิงธุรกิจ ทั้งนี้ หลักสูตรได้พัฒนาเนื้อหาที่มุ่งเน้นไปยังการสื่อสารแบรนด์เพื่อพัฒนาความคิด รวมทั้งการบริหารจัดการตราสินค้า และตราองค์กรอย่างสร้างสรรค์ การประชาสัมพันธ์ธุรกิจ บูรณาการกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ และการตลาดเพื่อส่งเสริมธุรกิจและการจัดการธุรกิจสื่อ เพื่อสอดรับกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของสื่อกระแสหลักและสื่อใหม่แขนงต่างๆ รวมถึงการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนในการจัดการจัดการองค์กรธุรกิจสื่ออย่างมีประสิทธิภาพ และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วของสื่อและสังคมในยุคดิจิทัล

(จัดการเรียนการสอน ภาคค่ำ ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Laws Program

มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในทางกฎหมายเฉพาะด้านทั้งในทางทฤษฎีและในทางปฎิบัติ ให้ผู้สำเร็จการศึกษารู้เท่าทันสถานการณ์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และตอบสนองความสนใจของผู้เรียน การสร้างความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ การวิจัย ความเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ นำความรู้ไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการรับใช้สังคมได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรม

(จัดการเรียน ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก มีการทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข มีการทำการค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยี

Master of Science Program in Digital Innovation and Technology Management

องค์กรในปัจจุบันไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ กำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมดิจิตอล ช่องว่างที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเนื่องจากบุคลากรในองค์กรที่อาจยังไม่พร้อมและ/หรือยังไม่อาจปรับตัวเข้ากับการผสมผสานเข้ามาของนวัตกรรมดิจิตอลนี้ หลักสูตรการจัดการนวัตกรรมดิจิตอลและเทคโนโลยีนั้น จะช่วยเตรียมความพร้อมให้บุคลากร ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่หัวหน้าส่วนงาน ผู้บริหารขององค์กร ให้เข้าใจถึงการจัดการบริหารนวัตกรรมดิจิตอล และเทคโนโลยีในยุคปัจจุบันและอนาคต เพื่อสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืน หลักสูตร DITM สร้างนักบริหารสายพันธุ์ใหม่ที่เข้าใจทั้งนวัตกรรมและการบริหารจัดการ

(จัดการเรียนการสอน นอกเวลาทำการ และวันเสาร์ จำนวน 36 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ

Thai Language for Careers

ด้วยวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของสังคมปัจจุบันที่เปลี่ยนไป หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตจึงได้พัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมที่ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ไปพัฒนาในวงการอาชีพที่ตนสนใจได้ โดยหลักสูตรเน้นการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม (Innovation-based learning) รวมทั้งศึกษาความเป็นพลวัตของภาษาไทยในสังคมปัจจุบันที่ปรากฏในวงการอาชีพทุกๆอาชีพ

ผู้เรียนนอกจากจะได้เรียนรู้แนวคิดและทฤษฎีทางด้านภาษาแล้ว หลักสูตรยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ วิจัยภาษาที่ปรากฏในสังคมปัจจุบัน เพื่อได้เท่าทันภาษาที่ปรากฏในสื่อร่วมสมัยทุกรูปแบบ อีกทั้งนำไปสู่การเป็นผู้นำทางด้านการใช้ภาษาไทยในวงการอาชีพ

ด้วยความเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำในด้านการใช้ภาษาไทย มหาวิทยาลัยจึงพร้อมที่สร้างคนรุ่นใหม่ที่สามารถใช้ภาษาไทยในมิติต่าง ๆ ได้อย่างทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาไทยภายใต้สภาวะสังคมที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านภาษาทุกวินาที

จัดการเรียนการสอน ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 42 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน ก ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน ข การค้นคว้าอิสระ

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน
汉语语言学硕士课程

Chinese Language

หลักสูตรที่มีลักษณะเป็นสหวิทยาการ จัดการเรียนการสอนด้วยภาษาจีนเป็นหลัก เน้นการศึกษาเชิงบูรณาการ เน้นการคิดวิเคราะห์องค์ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมจีน ประมวลแนวคิด ทฤษฎี และงานวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอกรอบแนวคิดและออกแบบหรือต่อยอดการศึกษาด้านภาษาจีนอย่างมีวิจารณญาณในทางสร้างสรรค์ ตลอดจนเน้นการพัฒนาการสื่อสารภาษาจีนขั้นสูงในสายงานอาชีพต่าง ๆ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนและแก้ปัญหาในกิจกรรมด้านต่าง ๆ ทั้งในบริบทสังคมไทยและสังคมจีนตลอดจนในระดับนานาชาติที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังสามารถนำศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์กับการจัดการเพื่อให้สามารถปฏิบัติในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งระดับชาติและนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาต่อยอดในการเรียนในระดับสูงต่อไป

จัดการเรียนการสอน ภาคเสาร์-อาทิตย์ จำนวน 42 หน่วยกิต แบ่งการศึกษาเป็น 2 แผน คือ แผน 1. ทำวิทยานิพนธ์ และ แผน 2. การค้นคว้าอิสระ

ผู้อำนวยการหลักสูตร

ดร.พีรพงษ์ ฟูศิริ

ดร.พีรพงษ์ ฟูศิริ

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต MBA,eMBA

เพิ่มเติม

ดร.อนุฉัตร ช่ำชอง

ดร.อนุฉัตร ช่ำชอง

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต iMBA

เพิ่มเติม

91781(1)

ดร.ภูษิต วงศ์หล่อสายชล

ผู้อำนวยการหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต aMBA

เพิ่มเติม

ผศ.ดร.ศิริญญา ดุสิตนานนท์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริญญา ดุสิตนานนท์

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต

เพิ่มเติม

รศ.ขนิษฐา จิตชินะกุล

รองศาสตราจารย์ขนิษฐา จิตชินะกุล

ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ

เพิ่มเติม

ดร.ชนะกัญจน์ ศรีรัตนบัลล

ดร.ชนะกัญจน์ ศรีรัตนบัลล์

ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการนวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยี

เพิ่มเติม

ผศ.ดร.ษิรินุช นิ่มตระกูล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ษิรินุช นิ่มตระกูล

ผู้อำนวยการหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต

เพิ่มเติม

หก-2041x2041

รองศาสตราจารย์ ดร.พนารัช ปรีดากรณ์

ผู้อำนวยการหลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ

เพิ่มเติม

ผศ.ดร.สมพร ปั่นโภชา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมพร ปั่นโภชา

ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการเงิน

เพิ่มเติม

ผศ.ดร.สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง BG2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง

ผู้อำนวยการหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด

เพิ่มเติม

รศ.ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย

รองศาสตราจารย์ ดร.สุวรรณี อัศวกุลชัย

ผู้อำนวยการหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการเงิน

เพิ่มเติม

อาจารย์ ดร.ศรินยา ละอองอินทร์ ทยานศิลป์

ดร.ศรินยา ละอองอินทร์ ทยานศิลป์

ผู้อำนวยการหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว การบริการ และอีเว้นท์

เพิ่มเติม

รองศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ ศรีสมถวิล (รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย)

รองศาสตราจารย์ ดร.บุรินทร์ ศรีสมถวิล

ผู้อำนวยการหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน

เพิ่มเติม